วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซอฟต์แวร์ (Software)



ซอฟต์แวร์.........

 หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ


คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ 

Software มี 2 ประเภท ดังนี้


1. ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)........
หมายถึง โปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าควบคุมการปฏิบัติงานของส่วน
ประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลอดเวลาควบคุม การ
สื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 


1. ระบบปฏิบัติการ (operating system หรือ OS)
เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์
 คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
(Disk Operating System หรือ DOS) , Windows 98 , UNIX เป็นต้น
 ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้



    1.1 ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ได้แก่- ระบบ
 ปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System หรือ MS - DOS)
 เอ็มเอสดอส เป็นระบบการปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ดูแลการทำงานต่าง ๆ ของระบบ
 คอมพิวเตอร์ 


     1.2 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (network operating system หรือ NOS) 

 เป็นระบบปฎิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารของคอมพิวเตอร์
 ให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น


   1.3 ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (open operating system)
 เป็นระบบที่พัฒนาจากแนวคิดที่ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง
ได้ซึ่งแต่เดิมการใช้ระบบปฎิบัติการไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทนั้น ๆ


2. ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator)
การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์นั้น จะ
เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะงานและความถนัด ของผู้เขียนโปรแกรม 
โปรแกรมที่เขียนขึ้นหรือที่เรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ จึงมีลักษณะโครงสร้างของภาษา
ที่แตกต่างกันออกไป ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถ
เข้าใจภาษาที่ใก้ลเคียงกับภาษามนุษย์ที่เรียกว่า ภาษาระดับสูง เนื่องจาก
คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าซึ่งแทนด้วยเลขฐานสอง (0 หรือ 1) 
หรือที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง 
 2.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) 
  เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอลและภาษาฟอร์แทรกให้
เป็นภาษาเครื่อง การทำงานจะใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับ ทั้งโปรแกรมเรียกใช้
งาน ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อต้องการเรียกใช้งาน
โปรแกรมก็สามารถเรียกจากไฟล์เรียกใช้งาน โดยไม่ต้องทำการแปลหรือคอมไพล์อีก 
ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  2.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter) 
เป็นตัวแปลระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์แต่จะแปลพร้อมกับ
ทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่ง    ตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไข
โปรแกรมกระทำได้ง่าย และรวดเร็ว 
  2.3 แอสเซมบลีลี (assembler) 
เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลี (assembly) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้
เป็นภาษาเครื่อง
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)......


   เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่


สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้


งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึง


กว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสอง


กลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ 

ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ 


ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ


  การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดย


เฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น 


จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่

ต่าง ๆ ได้สะดวก การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ 


ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงาน


ได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้


พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน


* ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package)





ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ 


(package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็


เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้


งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก

ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้


ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่


1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) 


เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม 


แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็น


แฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทาง


เครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดู


เรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์


ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น 


วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร

2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) 


เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์


ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่


วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้


เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้


คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน


สามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง 


ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส


3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base managemesoftware)
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูล


ที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การ


รวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียก


ว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วย


ในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจาก


ข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส 


พาราด็อก ฟ๊อกเบส


4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) 


เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลการแสดงผลต้องสามารถ
ดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจาก
สามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะ
ต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำ
เสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก


5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล  (Data Communication software)
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโคร
คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดย
ผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ 
เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้ม
ข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อม
เข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่า
นั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น 
โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

* ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
    การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้
งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่าง
ไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี 
หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน 
การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งาน
เฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
แต่ละราย 


      ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไป  
ศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำ
ขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกัน
ทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงาน
ทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม 
บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์
ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนา
ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
    ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์........
 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หรือ หมายถึง ลำดับ ขั้นตอนทำงาน 
ที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่ง เหล่านี้เรียงกัน เป็น
โปรแกรมคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ทำงานได้มากมายเพราะมีผู้
พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสั่งงานคอมพิวเตอร์
    ซอฟต์แวร์ จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ถ้าหากขาด 
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้

ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน.......
   ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) คือ กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับ
การจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ ผู้
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและ การใช้งาน
โปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (Resource) ต่าง ๆ ให้มี
ประสิทธิผลที่ดีโดย OS เองนั้น อาจเป็นได้ทั้ง Software, Hardware, 
Firmware 
Software OS - เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่อง ปรับปรุง
แก้ไขง่าย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว OS ส่วนใหญ่จะเป็น Software OS
Hardware OS - ทำหน้าที่เดียวกับ Software OS แต่ทำงานเร็ว
กว่า เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์ electronic เป็นส่วนหนึ่งของ 
Hardware เครื่อง ปรับปรุงแก้ไขยาก มีราคาแพง
Firmware OS - หมายถึง โปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ คือ 
ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ไมโครโปรแกรม เกิดจาก คำสั่ง
ไมโคร (Microinstruction) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งต่ำสุดของระบบควบคุม
การทำงานของ CPU หลาย ๆ คำสั่งรวมกัน คำสั่งภาษาเครื่อง 1 คำสั่ง
เกิดจากการทำงานของ Microprogram 1 โปรแกรม (หรือเกิดจาก
หลาย Microinstruction มารวมกัน) การแก้ไข เปลี่ยนแปลง คำสั่ง
ภาษาเครื่อง ทำโดยสร้าง Microprogram ขึ้นใหม่ ซึ่งทำได้ยากและ
เสียค่าใช้จ่ายสูง




ไบออส (BIOS – Basic Input Output System)
รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความ
จำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวรถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม 
มีหน้าที่หลักคือควบคุมอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่อง เช่น ซีพียู หน่วย
ความจำ ROM และ RAM เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ อื่นๆไบออสทำให้
โปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการเป็นอิสระจากอุปกรณ์ เพียงแต่
ติดตั้ง Driver ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ปัจจุบันเก็บไว้ใน Flash 
ROM โปรแกรมได้แต่ไม่บ่อย เพื่ออัพเดท firmware








ที่มา : http://www.computerhope.com/
help/phoenixa.htm





การบูทเครื่อง


การบูทเครื่องคือการเอาระบบปฏิบัติการไปไว้ในหน่วยความจำ ทำงาน
ตั้งแต่เปิดสวิทช์เครื่อง
ขั้นที่ 1 พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน  
ขั้นที่ 2 ซีพียูสั่งให้ไบออสทำงาน     
ขั้นที่ 3 เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อตรวจเช็ค
อุปกรณ์ต่างๆ จะมีสัญญาณเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาดเช่น ถ้ามีเสียง
ยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง แสดงว่าการ์ดจอมีปัญหา ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นก็
มีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
ขั้นที่ 4 ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับ
ข้อมูลที่อยู่ในซีมอส (CMOS ข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งในเครื่องหรือ
ค่า configuration จะเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ ใช้ไฟน้อยใช้แบตบน
เมนบอร์ด) ถ้าถูกต้องก็ทำงานต่อ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้แก้ไขข้อมูล
ก่อน   
ขั้นที่ 5 ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบูตจากฟลอปปี้ดิสก์หรือ
ฮาร์ดดิสก์ ไบออสรุ่นใหม่จะตั้งได้ว่าจะบูตจากเซกเตอร์แรกของ
อุปกรณ์ตัวไหนก่อน   
 ขั้นที่ 6 โปรแกรมส่วนสำคัญ(Kernel)จะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ 
RAM 
ขั้นที่ 7 ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดง
ผลลัพธ์ Kernel ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำ และเข้าไปควบคุมการ
ทำงานคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่างๆพร้อม
ทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อ
ไปซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติใหม่ๆจะมี GUI ที่เหมาะกับผู้ใช้ทั่วๆไป

ประเภทของการบู๊ตเครื่อง
     - โคลด์บู๊ต (Cold boot) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของ
ฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (Power On)
     - วอร์มบู๊ต (Warm boot) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิด
กระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง โดยมากจะใช้ใน
กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แฮกค์สามารถทำได้สามวิธี
         - กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
         - กดคีย์ Ctrl+Alt+Delete 
         - สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูปฏิบัติการ
การจัดการไฟล์ (File Management)
     ความหมายของไฟล์ (Files) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์
 ซึ่งอาจจะเก็บอยู่ในสื่อเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น HDD CD-ROM
FLOPPYDISK อ้างอิงชื่อ และส่วนขยายตามกติกาต่อไปนี้
  - ชื่อไฟล์ (file name) ตั้งได้มากสุด 256 อักขระ
  - ส่วนขยาย (extensions) เป็นส่วนที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติ การเข้าใจรูปแบบหรือชนิดของไฟล์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
อักขระ 3-4 ตัว เขียนต่อจากชื่อไฟล์คั่นด้วยเครื่องหมาย “.” เทียบ
ได้กับนามสกุลของไฟล์ บางระบบซ่อนไว้ ต้องตั้งค่าเพิ่ม
  - ลำดับโครงสร้างไฟล์ (Hierarchical File System)
ปกติระบบปฏิบัติการจะจัดเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบลำดับชั้น
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ
Directory เป็นโฟลเดอร์หลักบางครั้งเรียกว่า root directory
ส่วน Sub-Directory เป็นโฟลเดอร์ย่อยลงไปอีก